วันพุธที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2558

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 3  คอมพิวเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์
 1.คอมพิวเตอร์ หมายถึงอะไร และมีประโยชน์อย่างไร
ตอบ  คอมพิวเตอร์ หมายถึง คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องมือและอุปกรณ์ประเภทอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานด้วยคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมต่างๆ สามารถเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายได้หลายแบบ ลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์คือมีศักยภาพสูงในการคำนวณประมวลผลข้อมูลทั้งที่เป็นตัวเลข รูปภาพ ตัวอักษร และเสียงทำให้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กันงานได้กว้างขวาง
 มีประโยชน์ คือ
1.มีความเร็วในการทำงานสูง สามารถประมวลผลคำสั่งได้อย่างรวดเร็ว
2.มีประสิทธิภาพในการทำงาน ใช้แทนกำลังคนได้มากมาย
3.มีความถูกต้องแม่นยำตามโปรแกรมที่สั่งงานและข้อมูลที่ใช้
4.เก็บข้อมูลได้มาก ไม่ต้องใช้เอกสารและตู้เก็บ
5.สามารถโอนย้ายข้อมูลจากเครื่องหนึ่งไปอีกเครื่องหนึ่งโดยผ่านระบบเครือข่ายได้อย่างรวดเร็ว
 มีประโยชน์ คือ
1.มีความเร็วในการทำงานสูง สามารถประมวลผลคำสั่งได้อย่างรวดเร็ว
2.มีประสิทธิภาพในการทำงาน ใช้แทนกำลังคนได้มากมาย
3.มีความถูกต้องแม่นยำตามโปรแกรมที่สั่งงานและข้อมูลที่ใช้
4.เก็บข้อมูลได้มาก ไม่ต้องใช้เอกสารและตู้เก็บ
5.สามารถโอนย้ายข้อมูลจากเครื่องหนึ่งไปอีกเครื่องหนึ่งโดยผ่านระบบเครือข่ายได้อย่างรวดเร็ว
2.คอมพิวเตอร์มีที่มาอย่างไร
  ตอบ  คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องจนกลายมาเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์มีศักยภาพสูงที่นำมาใช้งานในชีวิตประจำวัน อุปกรณ์ชิ้นแรกซึ่งเป็นที่มาของคอมพิวเตอร์เริ่มจากการคิดค้นของชาวจีนในช่วง พ.ศ.500 มีการประดิษฐ์ลูกคิด ขึ้นมาช่วยในการคิดเลขจึงถือได้ว่าเครื่องคิดเลขนี้เป็นต้นกำเนิดของเครื่องคิดเลขในยุคต่อมา
ปี พ.ศ.2185 แบลส์ พาสคัล นักวิทยาศาสตร์และปรัชญาชาวฝรั่งเศส
ได้ประดิษฐ์เครื่องคิดเลขขึ้นมาใช้งาน เครื่องมือที่เขาสร้างขึ้นใช้ในการคำนวณ สามารถใช้บวกและลบค่าตัวเลขได้อย่างถูกต้อง
ปี พ.ศ. 2376 ชาร์ล แบบเบจ ได้สร้างเครื่องคำนวณโดยอาศัยโปรแกรมเป็นเครื่องแรกของโลก เราให้เกียรติยกย่องว่าเขาเป็นบิดาแห่งคอมพิวเตอร์
ปี พ.ศ.2489 คณะวิจัยของสหรัฐอเมริกาได้พัฒนาและสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบอิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรกของโลกมีชื่อเรียกว่าอินิแอ็ก [Eniac]เพื่อใช้ในการคำนวณวิถึกระสุนปืนใหญ่ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2
3.ส่วนประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์ได้แก่อะไรบ้าง
 ตอบ  ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ และหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์จะมีวงจรการทำงานพื้นฐาน 4 อย่าง (IPOS cycle) คือ
1.ส่วนรับข้อมูล (Input Unit)
2.ส่วนประมวลผลข้อมูล (Central Processing Unit)
3.ส่วนแสดงผล (Output Unit)
4.หน่วยความจำ (Memory Unit)
4.ระบบคอมพิวเตอร์หมายถึงอะไร ส่วนประกอบที่สำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ได้แก่อะไรบ้าง
ตอบ  ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System) หมายถึง ขั้นตอนการปฏิบัติงานของคอมพิวเตอร์ที่มีการกำหนดอย่างชัดเจนว่าต้องทำอะไรบ้าง เพื่อให้ได้ผลออกมาตามที่ต้องการ ขั้นตอนการปฏิบัติงานจะประกอบด้วย ข้อมูลนำเข้า การประมวลผล ผลลัพธ์ และข้อมูลป้อนกลับ ซึ่งมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน
ส่วนประกอบที่สำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ ได้แก่  ฮาร์ดแวร์ ( Hardware)  ซอฟต์แวร์ ( Software)   ข้อมูล ( Data )
5.ฮาร์ดแวร์ หมายถึงอะไร ส่วนประกอบที่สำคัญของของฮาร์ดแวร์ได้แก่อะไรบ้าง
 ตอบ  ฮาร์ดแวร์ หมายถึง ส่วนที่ประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์รวมอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ที่เราสามารถมองเห็นและสัมผัสได้ เช่น ตัวเครื่อง จอภาพ คีย์บอร์ด และเมาท์ เป็นต้น
จำแนกหน้าที่ของฮาร์ดแวร์ต่างๆสามารถแบ่งออกเป็นส่วนสำคัญ 5 ส่วน คือ
1.หน่วยรับข้อมูลเข้า [Input Unit]
2.หน่วยประมวลผลกลาง [Central Process Unit : CPU ]
3.หน่วยความจำ [Memory Unit]
4.หน่วยแสดงผล [Output Unit]
5.อุปกรณ์ต่อเนื่องอื่นๆ [Peripheral Equipment]
6.ส่วนประกอบใดของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่มีหน้าที่หลักในการควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์เปรียบเหมือนส่วนสมองของระบบคอมพิวเตอร์
  ตอบ   ซีพียู (CPU:Central Processing Unit) หรือหน่วยประมวลผลกลาง เป็นส่วนประกอบซึ่งทำหน้าที่หลักในการประมวลผลต่างๆ ทั้งทางคณิตศาสตร์ (Arithmetic Operatipn)เช่น ตัวเลข บวก ลบ คูณหาร และเปรียบเที่ยบข้อมูลทางตรรกศาตร์
7.หน่วยคอมพิวเตอร์แบบแรม (RAM) และแบบรอม(ROM) ของหน่วยความจำหลักแตกต่างกันอย่างไร
 ตอบ   รอม ( Rom )  Read Only Memory เป็นหน่วยความจำที่ไม่มาสามรถที่จะแก้ข้อมูลภายในได้ แต่สามารถที่จะอ่านข้อมูลได้อย่างเดียว และ สามารถเก็บข้อมูลได้ ROM มีคุณสมบัติคือ เก็บข้อมูลแบบถาวร แต่ความเร็วต่ำ ขนาดไม่ใหญ่มากนัก และไม่มีการแก้ไขข้อมูลบ่อย
ส่วนแรม ( Ram ) Random Access Memory ถือเป็นหน่วยความจำของระบบ ( System Memory ) ซึ่งสามารถเขียนข้อมูลลงไปได้ตลอดเวลา ใช้เป็นที่เก็บข้อมูลแบบชั่วคราว โปรแกรมหรือชุดคำสั่งจะทำงานได้ก็ต่อเมื่อมันถูกโหลดลงในแรมเสียก่อน แต่เพราะว่าแรมนั้นไม่สามารถที่จะเก็บข้อมูลได้เมื่อไม่มีไฟมาเลี้ยงตัวมัน ( เมื่อเปิดเครื่องก็จะหายไป )  คุณสมบัติ Ramเก็บข้อมูลได้เฉพาะเมื่อมีไฟเลี้ยง ความเร็วสูง สามารถมีขนาดใหญ่ๆ ได้ เพื่อใช้กับงานที่มีข้อมูลมากๆ
8.จานบันทึกข้อมูล( Hard Disk)  ประกอบด้วยอะไร ทำหน้าที่อะไร
ตอบ   ประกอบด้วย 1. แขนของหัวอ่าน ( Actuator Arm ) ทำงานร่วมกับ Stepping Motor ในการหมุนแขนของหัวอ่านไปยังตำแหน่งที่เหมาะสม สำหรับการอ่านเขียนข้อมูล โดยมีคอนโทรลเลอร์ ทำหน้าที่แปลคำสั่งที่มาจากคอมพิวเตอร์ จากนั้นก็เลื่อนหัวอ่านไปยังตำแหน่งที่ต้องการ เพื่ออ่านหรือเขียนข้อมูล และใช้หัวอ่านในการอ่านข้อมูล ต่อมา Stepping Motor ได้ถูกแทนด้วย Voice Coil ที่สามารถทำงานได้เร็ว และแม่นยำกว่า Stepping Motor
2 . หัวอ่าน ( Head ) เป็นส่วนที่ใช้ในการอ่านเขียนข้อมูล ภายในหัวอ่านมีลักษณะเป็น ขดลวด โดยในการอ่านเขียนข้อมูลคอนโทรลเลอร์  จะนำคำสั่งที่ได้รับมาแปลงเป็นแรงดันไฟฟ้าแล้วป้อนเข้าสู่ขดลวดทำให้เกิดการเหนี่ยวนำทางแม่เหล็ก ไปเปลี่ยนโครงสร้างของสารแม่เหล็ก ที่ฉาบบนแผ่นดิสก์ จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลขึ้น
3. แผ่นจานแม่เหล็ก ( Platters ) มีลักษณะเป็นจานเหล็กกลมๆ ที่เคลือบสารแม่เหล็กวางซ้อนกันหลายๆชั้น (ขึ้นอยู่กับความจุ) และสารแม่เหล็กที่ว่าจะถูกเหนี่ยวนำให้มีสภาวะเป็น 0 และ1 เพื่อจัดเก็บข้อมูล โดยจานแม่เหล็กนี้จะติดกับมอเตอร์ ที่ทำหน้าที่หมุน แผ่นจานเหล็กนี้ ปกติ Hard Disk  แต่ละตัวจะมีแผ่นดิสก์ประมาณ 1-4 แผ่นแต่ละแผ่นก็จะเก็บข้อมูลได้ทั้ง 2 ด้าน
4. มอเตอร์หมุนจานแม่เหล็ก ( Spindle Moter ) เป็นมอเตอร์ที่ใช้หมุนของแผ่นแม่เหล็ก ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากต่อความเร็วใน การหมุน ของ Hard Disk เพราะยิ่งมอเตอร์หมุนเร็วหัวอ่านก็จะเจอข้อมูลที่ต้องการเร็วขึ้น ซึ่งความเร็วที่ว่านี้จะวัดกันเป็นรอบต่อนาที ( Rovolution Per Minute หรือย่อว่า RPM ) ถ้าเป็น Hard Disk รุ่นเก่าจะหมุนด้วยความเร็วเพียง 3,600รอบต่อนาที ต่อมาพัฒนาเป็น 7,200รอบต่อนาที และปัจจุบันหมุนได้เร็วถึง 10,000รอบต่อนาที การพัฒนาให้ Hard Disk หมุนเร็วจะได้ประสิทธิภาพสูงขึ้น
5. เคส ( Case ) มีลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยม ใช้บรรจุกลไกต่างๆ ภายในแผ่นดิสก์เพื่อป้องกันความเสียหาย ที่เกิดจากการหยิบ จับ และป้องกันฝุ่นละออง
9.บอกความหมายของคำต่อไปนี้ เมกะไบต์ (Megabyte) กิกะไบต์ (Gigabit)พิdเซล (Pixel) จิกะเฮิร์ซ (GHz)
ตอบ    เมกะไบต์ (Megabyte) เป็นหน่วยวัดปริมาณสารสนเทศหรือความจุของหน่วยเก็บ (storage) ในคอมพิวเตอร์ มีค่าเท่ากับหนึ่งล้านไบต์ เมกะไบต์นิยมเขียนย่อเป็น MB (อย่าสับสนกับ Mb ซึ่งใช้แทนเมกะบิต) หรือบางครั้งอาจพูดหรือเขียนเป็น เม็ก หรือ meg
กิกะไบต์ (Gigabit)  หรือ จิกะไบต์ (gigabyte) ใช้ตัวย่อว่า GB เป็นหน่วยวัดขนาดของข้อมูลในคอมพิวเตอร์ เช่น ใช้เป็นหน่วยวัดความจุของหน่วยความจำหรือฮาร์ดดิสก์
พิกเซล (Pixel)  จุดภาพ หรือ พิกเซล (อังกฤษ: pixel) เป็นหน่วยพื้นฐานของภาพ คือจุดภาพบนจอแสดงผล หรือ จุดภาพในรูปภาพที่รวมกันเป็นภาพขึ้น โดยภาพหนึ่งๆ จะประกอบไปด้วยจุดภาพหรือพิกเซลมากมาย และแต่ละภาพที่สร้างขึ้นจะมีความหนาแน่นของจุดภาพ หรือบางครั้งแทนว่าความละเอียด (ความคมชัด) ที่แตกต่างกันไป จึงใช้ในการบอกคุณสมบัติของภาพ จอภาพ หรือ อุปกรณ์แสดงผลภาพได้
จิกะเฮิร์ซ (GHz) gigahertz (กิกะเฮิร์ตซ์) ตัวย่อ GHz เป็นหน่วยของความถี่ไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (EM) เท่ากับหนึ่งพันล้านเฮิร์ตซ์ (1,000,000,000 Hz) gigahertz ได้รับการใช้เป็นตัวชี้ความถี่ของ ultra-high-frequency (UHF) และสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไมโครเวฟ(microwave) และรวมถึงในบางคอมพิวเตอร์ ใช้แสดงความเร็วนาฬิกาของไมโครโพรเซสเซอร์
10.จอภาพ แป้นพิมพ์ และเมาท์ มีหน้าที่อย่างไรในเครื่องคอมพิวเตอร์
ตอบ     จอภาพ ใช้แสดงข้อมูลในรูปแบบตามที่เห็นผ่านทางข้อความและกราฟิก ส่วนของจอภาพที่แสดงผลข้อมูลเรียกว่า หน้าจอ หน้าจอคอมพิวเตอร์แสดงภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหวได้เหมือนกับหน้าจอโทรทัศน์
แป้นพิมพ์ เป็นส่วนสำคัญสำหรับใช้พิมพ์ข้อความลงในคอมพิวเตอร์ของคุณ แป้นพิมพ์ประกอบด้วยแป้นตัวอักษรและตัวเลขเหมือนกับแป้นพิมพ์บนเครื่องพิมพ์ดีด แต่มีแป้นพิเศษเพิ่ม ได้แก่
แป้นฟังก์ชัน ที่อยู่แถวบนสุด ทำหน้าที่ต่างๆ กันขึ้นกับว่าใช้แป้นฟังก์ชันนั้นที่ไหน
แป้นพิมพ์ตัวเลข ที่อยู่ทางด้านขวาของแป้นพิมพ์ทั้งหมด ช่วยให้คุณใส่ตัวเลขได้อย่างรวดเร็ว
แป้นนำทาง เช่นแป้นพิมพ์ลูกศรต่างๆ ช่วยคุณย้ายตำแหน่งภายในเอกสารหรือเว็บเพจ
เมาส์ เป็นอุปกรณ์ขนาดเล็กที่ใช้สำหรับชี้และเลือกรายการบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ แม้ว่าเมาส์ผลิตออกมาหลายรูปร่าง แต่โดยทั่วไปมีลักษณะคล้ายกับหนูที่เป็นสัตว์จริง เมาส์มีขนาดเล็ก เป็นรูปรี และเชื่อมต่อเข้ากับหน่วยระบบด้วยสายยาวซึ่งดูคล้ายกับหางหนู เมาส์ออกใหม่บางตัวเป็นแบบไร้สาย


แบบฝึกหัดท้ายบทเรียนที่2  ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
1.คำว่า "ระบบ" และวิธิการเชิงของระบบ หมายถึงอะไร
คำตอบ คำว่า ระบบ คือ การทำงานขององค์ประกอบย่อยๆ มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันจนกลายเป็นโครงสร้างที่สมบูรณ์ และสามารถตรวจสอบปรับปรุงแก้ไขได้ทุกขั้นตอบ และวิธีการเชิงระบบ หมายถึง กระบวนการคิดหรือการทำงานอย่างมีระบบแบบแผนชัดเจนในการนำเนื้อหาความรู้ด้านต่างๆมาประยุกต์ใช้อย่างเป็นขั้นตอน
2.องค์ประกอบสำคัญของวิธีระบบได้แก่อะไร
คำตอบ  1.ปัจจัยนำเข้า 2. กระบวนการ 3.ผลลัพธ์ 1.ปัจจัยนำเข้า ( Input)วัตถุสิ่งของต่างๆ รวมถึงเหตุการณ์ สถานการณ์ วัตถุประสงค์ ปัญหา  ความต้องการข้อกำหนด  กฎเกณฑ์ อันเป็นต้นเหตุของประเด่นปัญหา 2. กระบวนการ (Process)วิธีการขั้นตอนในการปฏิบัติงานการสร้างสรรค์ การแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับเนื้อหาและปัจจัย 
3. ผลลัพธ์(Output)ผลงานที่ได้จากกระบวนการจัดการวัตถุดิบหรือปัจจัยนำเข้าผลงานที่ได้รับอาจจะเป็นวิธีการหรือชิ้นงานก็ได้ซึ่งสามารถประเมินผลและตรวจสอบข้อมูลย้อนกลับได้3.ระบบสารสนเทศ หมายถึง อะไร
คำตอบ  คือการประมวลผลข้อมูลข่าวสารอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นกระบวนการเพื่อให้ข้อมูลในรูปของข่าวสารที่เป็นประโยชน์สูงสุด
4.องค์ประกอบหลักของระบบสารสนเทศ ได้แก่อะไร
คำตอบ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้ ระบบความคิด หมายถึง  กระบวนการและขั้นตอน ในการจัดอันดับ  จำแนก  แจกแจง  จัดหมวดหมู่ข้อมูลต่างๆ ระบบเครื่องมือ หมายถึง  อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่นำมาใช้ในการรวบรวม จัดเก็บ  เผยแพร่ สารสนเทศที่นิยมในการดำเนินไปอย่างมีคุณภาพ
5.สารสนเทศด้านจุดมุ่งหมาย ด้านขั้นตอน และสารสนเทศทั่วไปแต่ละด้านประกอบอะไร
คำตอบ สารสนเทศด้านจุดมุ่งหมาย ประกอบด้วย ในการแก้ปัญหา  มี 4 ประการดังนี้ - ข้อมูล (Data)  - สารสนเทศ(Information)  - ความรู้(Knowledge)  - ปัญญา(Wisdom) สารสนเทศด้านขั้นตอน    ประกอบด้วย  องค์ประกอบของสารสนเทศด้านขั้นตอน ในการดำเนินงานมี  3  ประการ คือ  ข้อมูลนำเข้า (Input) กระบวนการ (Process) และผลลัพธ์ (Output) การทำงานจะเริ่มตั้งแต่การเปลี่ยนข้อมูลดิบที่เข้ามาสู่การคำนวณประมวลผลหรือการกลั่นกรองจนได้ชิ้นงานหรือผลลัพธ์ (output) และจัดเก็บเพื่อนำออกมาเผยแพร่ในลักษณะของสารสนเทศต่อไป สารสนเทศทั่วไป  องค์ประกอบระบบสารสนเทศทั่วไป  (Information  Process  Systems)- เครื่องคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสื่อสารข้อมูล(Hardware)- ข้อมูล(Data)- สารสนเทศ(Information)- โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์(Software)- บุคลากรด้านคอมพิวเตอร์(People  ware)
6.โดยทั่วไปการจัดระบบสารสนเทศมีขั้นตอนการจัดการอย่างไร
คำตอบ  ขั้นตอนการจัดระบบสารสนเทศ ประกอบด้วย  3 ขั้นตอน  ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์ระบบ  (System  Analysis)แบ่งออกเป็น  4  หน่วยย่อย  คือ              1. วิธีวิเคราะห์แนวทางการปฏิบัติงาน  (Mission Analysis)              2.  วิเคราะห์หน้าที่ (Functional Analysis)              3. วิเคราะห์งาน  (Task Analysis)              4. วิเคราะห์วิธีการและสื่อ  (Method-Means Analysis)ขั้นที่  2  การสังเคราะห์ระบบ  (System Synthesis)  วิธีการสังเคราะห์ระบบช่วยเกลี่ยน้ำหนักเนื้อหาหรือภาระงานของขั้นตอนต่างๆ ให้มีความสมดุลในการแก้ปัญหาซึ่งมีขั้นตอนย่อย  ดังนี้     1.  การเลือกวิธีการหรือกลวิธี เพื่อหาช่องทางไปสู่จุดมุ่งหมายแล้วทดสอบและทดลองกลวิธี   เพื่อปรับปรุงให้เหมาะสมกับสารสนเทศที่วิเคราะห์และสังเคราะห์ไว้ 2.ดำเนินการแก้ปัญหาด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยเลือกกลวิธีที่เหมาะสมที่วางแผนแล้วก่อนใช้กลวิธีนั้นดำเนินการแก้ปัญหา 3. ประเมินผลประสิทธิภาพ การดำเนินงานโดยการแก้ปัญหา แล้วประเมินผลเพื่อหาประสิทธิภาพของผลลัพธ์ได้ขั้นที่  3  การสร้างแบบจำลอง  (Construct a Model)แบบจำลองเป็นการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด  ออกมาเป็นภาพที่มองเห็นได้อย่างชัดเจน ซึ่งอาจเป็นภาพลายเส้น  หรือรูปสามมิติ  แบบจำลองระบบทำให้เข้าใจโครงสร้าง  องค์ประกอบ และขั้นตอนในการดำเนินงาน  สามารถตรวจสอบหรือทำนายผลที่จะเกิดขึ้นก่อนที่จะนำระบบไปใช้จริง
7.ระบบสารสนเทศระดับบุลคล ระดับกลุ่ม กับระบบองค์กรแตกต่างกันอย่างไ
คำตอบ  มีหน้าที่แตกต่างกันคือ ระบบสารสนเทศระดับบุคคล คือ ระบบที่เสริมประสิทธิภาพและเพิ่มผลงานให้แต่ละบุคคล ในหน้าที่รับผิดชอบ เช่น ระบบวิเคราะห์ข้อมูลการขายระบบสารสนเทศระดับกลุ่ม คือ  ระบบสารสนเทศที่ช่วยเสริมการทำงานของกลุ่มบุคคลที่มีเป้าหมายการทำงานร่วมกันให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น ระบบบริการลูกค้า  การประชุมผ่านเครือข่าย  ระบบการไหลเวียนอัตโนมัติของเอกสาร  ระบบการจัดตารางเวลาของกลุ่มระบบสารสนเทศระดับองค์กร คือ  ระบบสารสนเทศที่สนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรในภาพรวม  เพื่ออำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานร่วมกันของหลายแผนกโดยการใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องร่วมกันด้วยวิธีส่งผ่านถึงกันจากแผนกหนึ่งข้ามไปอีกแผนกหนึ่ง
8.ข้อมูลและความรู้ คืออะไร มีความสำคัญกับสารสนเทศอย่างไร
คำตอบ  ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงที่ปรากฏให้เห็นเป็นประจักษ์สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้า ทั้งที่สามารถนับได้และนับไม่ได้ มีคุณลักษณะเป็นวัตถุสิ่งของ เหตุการณ์หรือสถานการณ์ ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น และต้องเป็นสิ่งมีความหมายในตัวมันเองซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของรูปภาพ  แสง  สี เสียง  รสความรู้ เป็นสภาวะทางสติปัญญาของมนุษย์ในการตีความสิ่งเร้าทั้งที่อยู่ภายในและภายนอกด้วยความเข้าใจสาระของเนื้อหา กระบวนการ และขั้นตอน อาจอยู่ในรูปของข้อมูลดิบหรือสารสนเทศระดับต่าง ๆ หรืออาจอยู่ในรูปของอารมณ์ความรู้สึกและเหตุผล มีความสำคัญกับสารสนเทศคือสารสนเทศ (informational) ข้อมูลที่ผ่านการกลั่นกรองโดยการจำแนกแจกแจง จัดหมวดหมู่ การคำนวณและประมวลผลแล้ว สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพต่อไปได้
9.การประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศมีขั้นตอนอย่างไร
คำตอบ  การประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ   มีวิธีการจัดการดังนี้    ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูล (Data processing steps) มีการประมวลผลตามขั้นตอนต่าง ๆ ที่เหมาะสม ดังนี้   1.การรวบรวมข้อมูล (Data collection) หมายถึงการเก็บข้อมูลจำนวนมากจากแหล่งกำเนิด (capturing) มาทำการเข้ารหัส (Coding) ในรูปที่เหมาะสมต่อการจัดเก็บ  และการบันทึก (recording)  ในสื่อที่สามารถเก็บข้อมูลไว้ได้นาน ๆ   2. การบำรุงรักษาและประมวลผลข้อมูล (Data Maintenance Processing) เป็นกระบวนการเก็บรักษาข้อมูลไว้ให้ใช้ได้ตลอดไป ซึ่งอาจประกอบด้วยปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยตลอดเวลา (updating)  ทำการแยกประเภท  (classifying)  จัดเรียงข้อมูล  (sorting)  และคำนวณหาข้อมูลใหม่จากข้อมูลที่มีอยู่แล้ว  (calculating)  เพื่อให้ใช้งานได้หลากหลายมากขึ้น   3.  การจัดการข้อมูล (Data Management) คือการสร้างระบบจัดการข้อมูลจำนวนมาก ให้สามารถนำมาใช้งานได้อย่างรวดเร็วทันเวลา  ซึ่งประกอบด้วยการจัดเก็บไว้ในแฟ้มข้อมูลอย่างเป็นระบบ   4. การควบคุมข้อมูล (Data Control) เป็นการป้องกันรักษาข้อมูลที่จัดเก็บไว้แล้วให้ปลอดภัยไม่ให้ข้อมูลที่มีค่าถูกขโมยไปใช้งานอย่างไม่ถูกต้อง   5.  การสร้างสารสนเทศ (Information Generation) เป็นการตีความหมายของข้อมูลที่ได้มาแล้ว ค้นหาความหมายหรือความสำคัญที่มีคุณค่าของข้อมูลที่ได้โดยการนำไปประมวลผลด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง  เช่น  การคำนวณ  การเรียงข้อมูล  (sorting)  การค้นหา (searching) 
10.จงกล่าวถึงเครือข่ายสื่อสารข้อมูลที่มีขนาดพื้นที่และจำนวนเครื่องที่ใช้งานแตกต่างกันอย่างไร
ตำตอบ  เครือข่ายสื่อสารข้อมูล คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งใช้เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกันให้สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันหรือแลกเปลี่ยนกันได้   1. แลน  (LAN = Local Area Network)  คือเครือข่ายบริเวณเฉพาะที่  จำกัดเขตเฉพาะภายในบริเวณอาคารหรือกลุ่มอาคารที่อยู่ใกล้กัน เนื่องจากข้อจำกัดของตัวกลางที่ใช้ส่งข้อมูล เช่น ภายในรั้วโรงเรียนหรื   2.  แวน  (WAN = Wide Area Network)   คือเครือข่ายบริเวณกว้าง  ระยะทางมากกว่า 10 กิโลเมตรขึ้นไปจนมากกว่าหลายพันกิโลเมตร  ปกติเชื่อมโยงด้วยระบบสื่อสารสาธารณะ  เช่น  สายโทรศัพท์ เครือข่ายเส้นใยแก้วนำแสง หรือเครือข่ายสัญญาณดาวเทียม เป็นต้น   3. อินเทอร์เน็ต  (Internet)  คือเครือข่ายขนาดใหญ่  ประกอบด้วยเครือข่ายแวนจำนวนมาก ซึ่งครอบคลุมพื้นที่กว้างไกลทั่วโลกอมหาวิทยาลัย 

แบบฝึกหัดท้ายบทเรียนที่1  เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

1.จงให้ความหมายของคำว่าเทคโนโลยีและคำว่าสารสนเทศ
คำตอบ เทคโนโลยี หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ การศึกษาพัฒนาองค์ความรู้ต่าง ๆ ก็เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติ กฎเกณฑ์ของสิ่งต่าง ๆ และหาทางนำมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ เทคโนโลยีจึงเป็นค้าที่มีความหมายกว้างไกล เป็นคำที่เราได้พบเห็นและได้ยินอยู่ตลอดมา เทคโนโลยี จึงเป็นเป็นวิธีการเพิ่มมูลค่าของสิ่งต่างๆ ให้เกิดประโยชน์มากขึ้นสารสนเทศ (Inform ation)หมาย ถึง ข้อมูลต่างๆ ที่ได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงหรือมี การประมวลหรือวิเคราะห์ผลสรุปด้วยวิธีการต่างๆ ให้อยู่ในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์กัน มีความหมาย มีคุณค่าเพิ่มขึ้นและมีวัตถุประสงค์ในการใช้งาน
2.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหมายถึงอะไร
คำตอบ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หมายถึง เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับข่าวสารข้อมูลและการสื่อสาร นับตั้งแต่การสร้าง การนำมาวิเคราะห์หรือประมวลผล การรับและส่งข้อมูล การจัดเก็บและการนำไปใช้งานใหม่ เทคโนโลยีเหล่านี้มักจะหมายถึงคอมพิวเตอร์ซึ่งประกอบด้วยส่วนอุปกรณ์ (hardware) ส่วนคำสั่ง (software) และส่วนข้อมูล (data) และ ระบบการสื่อสารต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ ระบบสื่อสารข้อมูล ดาวเทียมหรือเครื่องมือสื่อสารใด ๆ ทั้งมีสายและไร้สาย
3.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเกิดขึ้นได้อย่างไร
คำตอบ  มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่มีการตั้งถิ่นฐานอยู่กันเป็นหมู่เหล่าตั้งแต่ โบราณกาลมาแล้ว หน่วยเล็กที่สุดของสังคมคือครอบครัวขนาดใหญ่ขึ้นมาเป็นหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จนในที่สุดเป็นเมือง และเป็นประเทศตามลำดับ มนุษย์แต่ละหมู่เหล่ามีการติดต่อสื่อสารพบปะกัน เพื่อแลกเปลี่ยนอาหาร สิ่งของเครื่องใช้ ยารักษาโรคที่ชุมชนของตนไม่สามารถผลิตได้หรือผลิตได้ไม่เพียงพอ เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่พึ่งมีขึ้นในช่วงเวลาประมาณ 20 ปีที่ผ่านมานี่เอง เป็นเทคโนโลยีที่เกิดจากการรวมเทคโนโลยี 2 ประเภทเข้าด้วยกัน คือ เทคโนโลยีโทรคมนาคม กับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คำว่า สารสนเทศ หมายถึง ตัวเนื้อหาสาระของข้อมูลข่าวสาร โดยใช้คอมพิวเตอร์ทำหน้าที่รวบรวม จัดเก็บ ปรับเปลี่ยนรู กำเนิดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารปแบบของสารสนเทศ และใช้เทคโนโลยีโทรคมนาคมซึ่งพัฒนามาจากเครือข่ายโทรทัศน์และเครือข่ายวิทยุ มาสร้างระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขึ้น เป็นการนำเอาความสามารถของคอมพิวเตอร์ ประวัติโดยย่อของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เทคโนโลยีสารสนเทศเกิดการจากการรวมกันของเทคโนโลยี 2 ด้าน คือเทคโนโลยีโทรคมนาคมกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีโทรคมนาคม เทคโนโลยีโทรคมนาคม เริ่มจากการประดิษฐ์โทรเลขของ แซมวล มอร์ส(Samual Morse) ในปี พ.ศ. 2380 นับว่าเป็นครั้งแรกที่ข่าวสารถูกแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้าส่งไปตามสายเป็นระยะทาง ไกลๆได้ โดยอาศัยวิธีการเข้ารหัสตัวอักษร เป็นรหัสอื่นที่ประกอบด้วยจุด (.) และขีด (-) เช่น สัญญาณขอความช่วยเหลือฉุกเฉิน SOS จะเข้ารหัสเป็น… – - – … การรับส่งโทรเลขได้ถูกนำมาใช้งานในเชิงการค้าตั้งแต่ พ.ศ. 2387 เป็นต้นมา และในปี พ.ศ. 2401 ได้มีการวางสายเคเบิลใต้มหาสมุทรแอตแลนติก ทำให้เกิดการสื่อสารข้ามทวีประหว่างทวีปอเมริกากับทวีปยุโรปขึ้นเป็นครั้ง แรกเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้เป็นผลมาจากการประดิษฐ์คิดค้นเครื่อง มือในการคำนวณซึ่งมีวิวัฒนาการนานมาแล้ว เริ่มจากเครื่องมือในการคำนวณเครื่องแรกคือ “ลูกคิด” (Abacus) ที่สร้างขึ้นในประเทศจีน เมื่อประมาณ 2,000-3,000 ปีมาแล้ว
4.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีความเป็นมาหรือพัฒนาการโดยย่อยอย่างไร
คำตอบการพัฒนาเทคโนโลยีโทรคมนาคมที่ได้กล่าวมาเกิดขึ้นในช่วงระหว่างเวลาตั้งแต่ พ.ศ. 2384 ถึง พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1841 – 1970) อย่างไรก็ดี การพัฒนาเทคโนโลยีในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นไปในลักษณะของการวิวัฒนาการและค่อยเป็นค่อยไป จนกระทั่งตั้งแต่ พ.ศ. 2513 ซึ่งเป็นปีที่เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในสังคมธุรกิจและอุตสาหกรรมอย่างเต็มรูปแบบ อาจกล่าวได้ว่าเป็นปีที่มองเห็นการเคลื่อนตัวของสังคมมนุษย์จากยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมไปเป็นยุคข่าวสารข้อมูลอย่างเป็นรูปธรรม การพัฒนาเทคโนโลยีโทรคมนาคมใหม่ๆ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับบริการใหม่ๆ เช่น เครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต สื่อผสม (Multimedia) เส้นใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) เป็นต้น รวมทั้งการพัฒนาเทคโนโลยีระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีราคาถูกและมีประสิทธิภาพดีกว่า จากการใช้ยากมาเป็นใช้ง่าย ซึ่งช่วยสนับสนุนให้เทคโนโลยีโทรคมนาคมเกิดการพัฒนาก้าวหน้าขึ้นมาอย่างรวดเร็วด้วย
5.ระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI ) หมายถึงอะไร
คำตอบ ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) หรือ เอไอ (AI) หมายถึงความฉลาดเทียมที่สร้างขึ้นให้กับสิ่งที่ไม่มีชีวิต ปัญญาประดิษฐ์เป็นสาขาหนึ่งในด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ และวิศวกรรมเป็นหลัก แต่ยังรวมถึงศาสตร์ในด้านอื่นๆอย่างจิตวิทยา ปรัชญา หรือชีววิทยา ซึ่งสาขาปัญญาประดิษฐ์เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการการคิดการกระทำ การให้เหตุผล การปรับตัวหรือการงานและการทำงานของสมอง แม้ว่าดังเดิมนั้นเป็นสาขาหลักในวิทยาการคอมพิวเตอร์ แต่แนวคิดหลายๆ อย่างในศาสตร์นี้ได้มาจากการปรับปรุงเพิ่มเติมจากศาสตร์อื่นๆ ประกอบด้วย 1. ระบบที่คิดเหมือนมนุษย์ (Systems that think like humans) 2.ระบบที่กระทำเหมือนมนุษย์ (Systems that act like humans) 3. ระบบที่คิดอย่างมีเหตุผล (Systems that think rationally) 4.ระบบที่กระทำอย่างมีเหตุผล (Systems that act rationally)
6.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีความสำคัญหรือมีประโยชน์อย่างไร
คำตอบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีส่วนทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนในปัจจุบันมีความสะดวกสบายมากขึ้น ทำให้คนในสังคมมีการติดต่อสื่อสารถึงกันได้ง่ายและรวดเร็ว มีการทำกิจกรรมหลายสิ่งหลายอย่างร่วมกันง่ายขึ้น การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านต่างๆ
7.สารสนเทศที่ดีและมีประโยชร์ควรมีลักษณะอย่างไร
คำตอบ
  1. มิติด้านเวลา (Time) กล่าวคือ สารสนเทศที่ดีจะต้อง สามารถหาได้ทันเวลาที่ต้องการใช้ข้อมูล (Timeliness) สารสนเทศนั้นต้องได้รับการปรับปรุงให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ (Up-to-date) และเป็นข้อมูลที่มีระยะเวลา (Time Period) กล่าวคือ มีการประมวลข้อมูลตั้งแต่ในอดีต จนถึงปัจจุบัน เพื่อใช้ในการพยากรณ์อนาคต
  2. มิติด้านเนื้อหา (Content) กล่าวคือ เนื้อหาของสารสนเทศนั้นจะต้องมีความถูกต้องเที่ยงตรง (Accuracy) สอดคล้องกับเรื่องที่ผู้ใช้งานต้องการ (Relevance) มีความสมบูรณ์ครอบคลุมรายละเอียดที่สำคัญทุกเรื่อง (Completeness) กระบวนการและแหล่งที่มาของข้อมูลมีความเชื่อถือได้ (Reliability) และสามารถตรวจสอบความถูกต้องได้ (Verifiability)
  3. มิติด้านรูปแบบ (Format) กล่าวคือ สารสนเทศควรมีความชัดเจนง่ายต่อการทำความเข้าใจ (Clarity) มีระดับของการนำเสนอรายละเอียด (Level of detail) ที่เหมาะสมกับผู้ใช้งาน มีรูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสม (Presentation) เลือกใช้สื่อในการนำเสนอที่เหมาะสม (Media) สารสนเทศมีความยืดหยุ่น (Flexibility) ช่วยให้ผู้ใช้สามารถปรับใช้เพื่อสนองความต้องการได้หลายแบบ และเป็นสารสนเทศที่สร้างขึ้นมาโดยใช้ต้นทุนไม่สูงจนเกินไป (Economy) ประโยชน์ที่ได้รับมีความคุ้มค่าต่อการลงทุนที่ใช้ไป
  4. มิติด้านกระบวนการ (Process) กล่าวคือ ผู้ที่ต้องการสารสนเทศนั้นต้องสามารถเข้าถึงสารสนเทศได้ง่าย (Accessibility) กระบวนการในการสร้างสารสนเทศเกิดจากการมีส่วนร่วมของบุคคลหรือกลุ่มต่างๆ ในองค์การ (Participation) และฐานข้อมูลต่างๆ ควรจะมีการเชื่อมโยงถึงกัน (Connectivity) อีกด้วย
8.จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
คำตอบงานจัดเตรียมเอกสาร เป็นการใช้เครื่องประมวลผลคำหรือเครื่องประมวลผลเนื้อหา เป็นเครื่องมือในการจัดเตรียม อุปกรณ์ประกอบการใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ โมเด็ม และช่องทางการสื่อสาร ระบบประมวลผลคำ แบ่งออกได้ 2 ระบบ คือ
1.1.1 ระบบเดี่ยว (Stand – alone) เป็นระบบที่สามารถประมวลผลได้ภายในคอมพิวเตอร์ชุดเดียว หรือจะเชื่อมโยงไปยังคอมพิวเตอร์อื่น ๆ
9.จงอธิบายกระแสโลกาภิวัฒน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในปัจจุบัน
คำตอบ กระแสโลกาภิวัฒน์  ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  ในปัจจุบันช่วยให้ความเป็นอยู่ ในชีวิตประจำวันของเราสะดวกสบายมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับยุคก่อน การเดินทางและติดต่อสื่อสารระหว่างกันสามารถทำได้ง่ายขึ้น มีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งาน  ในทุกสาขาอาชีพ เช่น  การสื่อสาร  การธนาคาร  การบิน  วิศวกรรม  สถาปัตยกรรม  การแพทย์  การศึกษา หรือการเรียนการสอน  ซึ่งส่งผลให้วิทยาการต่างๆ  เจริญก้าวหน้าและทันสมัยอย่างรวดเร็ว  การติดตามข่าวสารที่เกิดขึ้นในส่วนต่างๆ ของโลกได้ทันเหตุการณ์   สามารถรับรู้ข่าวสารข้อมูลในเวลาเดียวกันได้ทั้งที่อยู่ห่างไกลกันคนละสถานที่  เช่น การถ่ายทอดสด การเสนอข่าวเหตุการณ์สำคัญ  รายการแข่งขันกีฬา การถ่ายทอดสัญญาณผ่านระบบดาวเทียมจากประเทศต่างๆ  การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์พิมพ์รายงาน สร้างภาพกราฟิก  เก็บข้อมูล   สืบค้นข้อมูล   ฟังเพลง   รวมถึงการประยุกต์ใช้  ในการเรียนการสอน  จึงนับได้ว่าคอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญ ต่อการดำรงชีวิต การศึกษา และการเรียนรู้เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยให้สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาในทุกๆ ด้าน ช่วยส่งเสริมทักษะ  และสร้างความสนุกสนานเพลิดเพลิน  ไปพร้อมๆ กัน
10.จงกล่าวถึงบทของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทั้งในด้านประโยชน์และโทษที่มีต่อผู้ใช้และสังคม
คำตอบ ผลกระทบในทางบวกหากย้อนยุคไปในอดีตตั้งแต่การประดิษฐ์คอมพิวเตอร์ขึ้น เมื่อปลายสงครามโลกครั้งที่สอง คอมพิวเตอร์ในยุคแรกเน้น การออกแบบเพื่อเป็นเครื่องจักรช่วยคำนวณเพื่อให้การคำนวณทางคณิตศาสตร์ที่มี ความยุ่งยากซับซ้อนทำได้ง่ายและรวดเร็วขึ้นคอมพิวเตอร์เครื่องแรก ๆ ของโลกส่วน ใหญ่สร้างในมหาวิทยาลัย มีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ การ นำคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นเครื่องคำนวณทำให้เกิดการค้นคว้าทางวิชาการ เช่น การวิเคราะห์เชิงตัวเลข การแก้สมการหลาย ๆ
ผลกระทบในทางลบ นับตั้งแต่เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น การใช้เทคโนโลยีเป็นไปอย่างกว้างขวาง ซึ่งหมายถึงการใช้เทคโนโลยีไปใน ด้านต่าง ๆ ซึ่งแน่นอนย่อมต้องมีทั้งคุณและโทษ ภาพยนตร์หลายเรื่องได้ สะท้อนความคิดของการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในทางลบ ผลกระทบ ในทางลบเหล่านี้บางอย่างเป็นเพียงการคาดคะเนยังไม่ได้เกิดขึ้นจริง แต่ อย่างไรก็ตามย่อมมีโอกาสเกิดขึ้นได้ ผลกระทบในทางลบ